บขส. เร่งเปลี่ยนรถใหม่ 311 คัน มูลค่ากว่า 3,000 ล้าน ทยอยรับรถก.ย.นี้ 99 คัน วางเป้าภายใน 2 ปี หลุดพ้นขาดทุน

ผู้ชมทั้งหมด 86 

“สุรพงษ์” ชี้ ปีที่ 96 ของ บขส.ต้องปรับตัวเป็นฟีดเดอร์เชื่อมระบบบราง เปิดตลาดเส้นทางสู่เพื่อนบ้าน รับ-ส่งพัสดุ โล๊ะรถเก่าเปลี่ยนใหม่ 311 คัน มูลค่ากว่า 3,000 ล้าน ตั้งเป้ารายได้พุ่ง 3,500 ล้าน ภาย 2 ปี หลุดพ้นขาดทุน เชื่อทำกำไรได้แน่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ก.ค. ณ อาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนา บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ครบรอบปีที่ 95 โดยมี นายอรรถวิท รักจำรุญ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส., กรรมการบริษัทฯ, ผู้บริหาร และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมฯ

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า บขส.ถือเป็นองค์กรที่จิ่วและแจ๋ว โดยไม่ใช้งบประมาณจากภาครัฐ ซึ่งที่ผ่านมามีการปรับเปลี่ยนและปฏิรูปองค์กรให้มีความคล่องตัวและมีความทันสมัย โดยเฉพาะผลงานด้านการอำนวยความสะดวกและให้บริการประชาชนในการเดินทางในช่วงเทศกาลตั้งแต่ปี 2566 โดยสามารถบริหารจัดการรับมือผู้โดยสารจากวันละประมาณ 8 หมื่นคน เพิ่มเป็น 1.4 แสนคนได้เป็นอย่างดีไม่มีผู้โดยสารตกค้างเลย

สำหรับเป้าหมายของบขส.ในปีที่ 96 นั้นตนได้มอบนโยบายว่า บขส.ต้องปรับตัวมองหารูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ทั้งการเป็นฟีดเดอร์เชื่อมโยงกับรถไฟทางคู่ที่เริ่มให้บริการในหลายเส้นทางแล้ว โดยเฉพาะในเส้นทางทางที่ระบบรางเข้าไม่ถึง รวมถึงการเปิดตลาดเส้นทางเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อการธุรกิจและการค้า

นายสุรพงษ์ กล่างว่า ในส่วนของการปรับปรุงสถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2 นั้น อยู่ระหว่างการทบทวนผลการศึกษา คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยจะมีรูปแบบชัดเจนว่าการให้บริการจะเป็นแบบไหน มีรถจำนวนกี่คันผู้โดยสารเท่าไหร่ รวมถึงการจัดวางพื้นที่ที่จะให้บริการได้อย่างสะดวก

อย่างไรก็ตามเบื้องต้นอาจจะยังไม่มีการย้ายสถานีออกจากจุดเดิมแต่เป็นการปรับเปลี่ยนหรือลดขนาดลงเมื่อระบบรางสามารถเขื่อโยงไปยังพื้นที่รอบนอกกรุงเทพได้ เพื่อแก้ปัญหาการจราจรแออัดในพื้นที่กรุงชั้นใน แต่อาจจะมีการปรับสถานีรอบนอกเขตกรุงเทพที่มีอยู่เพื่อรองรับความต้องการในการเดินทางของประชาชน เช่น สถานีสายใต้รองรับผู้โดยสารที่เดินทางไปยังภาคใต้ สถานีรังสิต รองรับผู้โดยสารที่เดินทางไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีเอกมัยรองรับผู้โดยสารที่เดินทางไปยังภาคตะวันออก เป็นต้น

ด้าน นายอรรถวิท  กล่าวว่า ขณะนี้ บขส. ได้ดำเนินการจัดหารถโดยสารใหม่จำนวน 311 คัน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นรูปแบบรถเช่าพร้อมบำรุงรักษาระยะเวลา 5 ปี วงเงินกว่า3,000 ล้านบาท โดยที่จะเริ่มทยอยรับมอบรถล็อตแรกในวันที่ 9 กันยายน 2568 จำนวน 99 คัน  ส่วนที่เหลือจะทยอยรับมอบให้ครบทั้งหมดภายในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อนำมาทดแทนรถเก่าทั้งหมดที่มีอยู่เดิมจำนวน 250 คัน เนื่องจากรถเดิมใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว ดังนั้นภายในสิ้นปีนี้ บขส.จะมีรถในฟีดทั้งหมด 355 คัน แบ่งเป็น รถที่จะมาให้บริการภายในประเทศจำนวน 311 คัน (รถใหม่ทั้งหมด) และรถที่ให้บริการระหว่างประเทศอีกจำนวน 44 คัน

ทั้งนี้รถโดยสารใหม่จะช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานในการซ่อมบำรุงรถลงได้ปีละประมาณ100 กว่าล้านบาท เนื่องจากเป็นรถที่ใช้เครื่องยนต์นวัตกรรมใหม่ ยูโรไฟท์ ช่วยลดมลพิษและลดโลกร้อนได้ ถือเป็นรุ่นแรกที่นำเข้ามายังประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นรถเกียร์ออโต้ช่วยประหยัดพลังงานน้ำมันลงได้ประมาณ 20 -30%

สำหรับแผนการเพิ่มรายได้ของ บขส.นั้น ได้ ตั้งเป้าหมายเป็นเคพีไอว่าภายใน 2 ปีจะต้องมีรายได้ปีละ 3,500 ล้านบาท แบ่งเป็น รายได้จากการเดินรถ 2,500 ล้านบาท รายได้เชิงพาณิชย์ภายในสถานี 500 ล้านบาท และรายได้จาการรับ-ส่งพัสดุภัณฑ์ 500 ล้านบาท  จากปัจจุบันที่มีรายได้อยู่ปีละ 1,988 ล้านบาท เป็นรายรายได้จากการเดินรถประมาณ 1,300 ล้านบาท รายได้เชิงพาณิชย์ภายในสถานี 500 ล้านบาท และรายได้จาการรับ-ส่งพัสดุภัณฑ์ 200 ล้าน

ส่วนรายได้ของ บขส.นั้น หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 บขส.ขาดทุนสะสมกว่า 2,000 ล้านบาท ปัจจุบันติดลบอยู่ที่ 70 ล้านบาท ดังนั้นตั้งเป้าว่าในปี 2569 ต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีกำไร เนื่องจากมีรถใหม่เข้ามาและมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ เชื่อว่าจะทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน

นายอรรถวิท กล่าวอีกว่า สถานีขนส่งฯ หมอชิต 2 ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชน ด้วยการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก โดยได้มีการปรับปรุงพื้นที่ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสาร สถานีขนส่งฯ หมอชิต 2  การปรับปรุงพื้นชานชาลาขาออกด้วยการทาสีใหม่, เปลี่ยนเก้าอี้สำหรับให้บริการ, ปรับปรุงประตูทางเข้าอาคารสถานีขนส่งฯ, ติดตั้งจุดชาร์จไฟแบตเตอรี่มือถือ, ติดตั้งลิฟต์โดยสารบริเวณชาลาขาออก เพื่ออำนวยความสะดวกผู้โดยสารที่ใช้บริการเข้าถึงทุกกลุ่มทุกวัย, ติดตั้งจอ LED ตารางเวลาการเดินรถโดยสาร ภายในอาคารสถานีขนส่งฯ และบริเวณซานชาลา เพิ่มเครื่องสแกนกระเป้าสัมภาระ และจัดพื้นที่ Safe Zone อนุญาตให้ผู้โดยสารที่มีตั๋วโดยสารเข้าพื้นที่ชานชาลาเท่านั้น

รวมถึงมีแผนปรับปรุงสายเดินรถของบชส. ที่อยู่ความดูแล เพื่ออำนวยความสะดะดวกประชาชนในการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ สะดวก ปลอดภัยเชื่อมั่นการให้บริการ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรมทั้งการพัฒนา บขส. ให้เป็นฟีดเดอร์เชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะทุกโหมดการเดินทาง (บก – ราง – น้ำ – อากาศ) ด้วยการเปิดเส้นทางเดินรถโดยสารเชื่อมท่าอากาศยาน เช่น เส้นทางท่าอากาศยานดอนเมือง – พัทยา, ท่าอากาศยานดอนเมือง – หัวหิน และ ท่าอากาศยานสวรรณภูมิ – พัทยา เพื่อให้เกิดการเดินทางสะดวก สบาย รวดเร็ว ตลอดจนเพิ่มรายได้จากการรับ – ส่งพัสดุภัณฑ์ให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้บริการทุกพื้นที่มากขึ้นด้วย