ผู้ชมทั้งหมด 789
พพ.ร่วมกับ ESCAP พัฒนาพลังงานทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานระดับจังหวัด จัดทำแผนที่นำทางการปรับเปลี่ยนสู่การใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน ให้กับจังหวัดอุดรธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ จังหวัดเชียงราย มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พพ. และ Mr. Hongpeng Liu, Director of Energy Division ESCAP ร่วมกันส่งมอบแผนที่นำทางการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน Sustainable Energy Transition Roadmap โดยมี นายจำรัส กังน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี , นายนันทวัช เจริญวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ นางสายธาร ประสงค์ความดี พลังงานจังหวัดเชียงราย ผู้แทนจังหวัดเชียงราย เป็นผู้รับมอบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาพลังงานทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของแต่ละจังหวัด มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อย่างเป็นรูปธรรม ณ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ กรุงเทพ
ดร.ประเสริฐ กล่าวว่า การจัดทำแผนที่นำทางการปรับเปลี่ยนสู่การใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน เป็นการดำเนินการภายใต้โครงการ Renewable Energy Technologies in Cities and Urban Planning for Renewable Energy Application in Thailand ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กับ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียแปซิฟิก หรือ ESCAP เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนในระดับจังหวัดและทำแผนทีนำทางการปรับเปลี่ยนสู่การใช้พลังงานสะอาดอย่างยั่งยืนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในระดับท้องถิ่นให้มีความรู้และสามารถวางแผนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนและการเพิ่มประสิทธภาพพลังงานที่นำมาใช้ได้จริง
สำหรับ โครงการจัดทำแผนที่นำทางฯได้มีการนำร่องกับ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี , จังหวัดสุราษฎร์ธานี ,จังหวัดเชียงราย โดยกระบวนการจัดทำแผนที่นำทางฯเป็นการดำเนินการร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละจังหวัด ด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต และเป้าหมายร่วมกัน การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานะปัจจุบัน การสร้างแบบจำลองสถานการณ์ด้านพลังงานและการปล่อยก๊าซเรื่อนกระจกด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านนโยบาย กำหนดศักยภาพในการใช้พลังงานทดแทนและการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน เพื่อจัดทำแผนที่นำทางโดยใช้เครื่องมือ NEXSTEP การรับฟังความคิดเห็น และการปรับผลวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะที่เหมาะสมของแต่ละจังหวัด นำมาจำลองสถานการณ์การผลิตพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้เห็นภาพและศักยภาพของจังหวัด ซึ่งจะทำให้แต่ละจังหวัดมีแผนงานในด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานอย่างชัดเจน อาทิ การเพิ่มสัดส่วนการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าอย่างรวดเร็วเพื่อสนับสนุนการขนส่งแบบคาร์บอนต่ำ , การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคา (Solar Rooftop) ,ส่งเสริมให้มีการแข่งขันลงทุนพลังงานทดแทนในจังหวัด ซึ่งช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เศรษฐกิจ และสังคม และขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน