EA ผนึก MEA -JR ติดตั้งสถานีชาร์ EV ทั่วกทม. ปริมณฑล 1,000 หัวชาร์จ

ผู้ชมทั้งหมด 491 

“EA- MEA -JR” ผนึกกำลังร่วมพัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ วางเป้าติดตั้ง 1,000 หัวชาร์จทั่วกทม. ปริมณฑล ภายในปีนี้ คาดใช้เงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท พร้อมเล็งส่งมอบรถโดยสารไฟฟ้า 800 คันครึ่งปีหลัง 65  

นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA เปิดเผยว่า บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด (EMN) ซึ่งบริษัทย่อย ของ EA ได้ดำเนินธุรกิจให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ภายใต้เครื่องหมายการค้า “EA Anywhere” ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับการไฟฟ้านครหลวง และบริษัท เจ.อาร์.ดับเบิ้ลยู. ยูทิลิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ JR ในโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Smart Charging Station)

โดยความร่วมมือในครั้งนี้มีเป้าหมายติดตั้งสถานีอัดปะจุไฟฟ้า EA Anywhere  ในพื้นทีเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน 1,000 หัวชาร์จภายในปี 2565 ซึ่งจะเป็นระบบ ระบบ DC Ultra-Fast Charge เน้นติดตั้งในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (รถยนต์ EV) ตามหน่วยงานภาครัฐ โดยคาดว่าจะใช้เงินลงทุนราว 2,000 ล้านบาท ส่วนต่างจังหวัดมีแผนจะติดตั้งตามสถานีขนส่งรถโดยสาร หรือ ตามจุดพักรถโดยสาร รองรับสายการเดินรถโดยสารในอนาคตจะมีการเปลี่ยนมาใช้รถบัสไฟฟ้า และติดตั้งตามแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจะเน้นเป็นระบบ DC ที่ตอบโจยท์ในการเดินทางเพราะใช้เวลาในการชาร์จเพียง 15 – 20 นาที

ส่วนสถานีอัดปะจุไฟฟ้าระบบ AC Charger  จะเน้นขยายการติดตั้งตามบ้านพักอาศัย ห้างสรรพสินค้า คอนโดมิเนียม โรงแรม เป็นต้น เพราะเป็นระบบการชาร์จที่ใช้เวลานานสามารถจอดรถแล้วชาร์จไฟฟ้าทิ้งไวได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน EA ติดตั้งสถานีอัดปะจุไฟฟ้าแล้วกว่า 1,900 หัวชาร์จ แบ่งเป็นระบบ AC  1,200 หัวชาร์จ DC 700 หัวชาร์จ

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า โดยส่งเสริมการพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้มีความคล่องตัวสูงขึ้น จึงได้ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าอัจฉริยะ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์ไฟฟ้า  โดย กฟน. จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินการขอใช้ไฟฟ้าสำหรับสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า และ JR จะเป็นผู้วางแผนและดำเนินโครงการด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าทุกประเภทร่วมกับ EMN

อย่างไรก็ตามความร่วมมือในครั้งนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รองรับนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ที่ตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไร้มลพิษให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 พร้อมนโยบายสนับสนุนด้านต่างๆ รวมถึงการกำหนดเป้าหมายการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charging Station) สาธารณะกระจายทั่วประเทศ

ขณะเดียวกัน EA ยังได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการด้วย Application “EA Anywhere” ระบบออนไลน์ที่สามารถดำเนินการจอง จ่าย และชาร์จในคราวเดียวกัน โดยปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดใช้งานแล้วกว่า 33,000 ครั้ง

ส่วนบริษัท อี ทรานสปอร์ต โฮลดิง จำกัด เป็นย่อยของ EA เข้าไปซื้อกิจการของ บริษัท สมาร์ทบัส จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีสัปทานการเดินรถรวม 37 สาย สูงสุดกว่า 1,200 คันนั้น ปัจจุบัน “สมาร์ทบัส” ให้บริการเดินรถราว 400 คันเป็นเชื้อเพลิงน้ำมัน ซึ่งที่เหลือ 800 คันทาง EA คาดว่าจะทยอยส่งมอบเป็นรถโยสารไฟฟ้าให้กับ “สมาร์ทบัส” ได้ในช่วงครึ่งปีหลัง 2565

ด้านนายจรัญ วิวัฒน์เจษฎาวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ.อาร์.ดับเบิ้ลยู.ยูทิลิตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ JR กล่าวว่าโครงการนี้ JR ทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบ จัดหาและติดตั้งระบบส่ง และโครงข่ายไฟฟ้า รวมถึงออกแบบพัฒนาระบบอนุรักษ์พลังงานร่วมกับ บริษัท พลังงานมหานคร (บริษัทย่อยของ EA) ในการหาสถานที่ติดตั้งสถานีอัดจุไฟฟ้ที่หมาะสม ทั้งขนาด จำนวนและสถานที่ติดตั้งสำหรับโครงการเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า ในประเทศไทย

สำหรับ JR ในฐานะผู้นำในการวางระบบ ICT และไฟฟ้าของไทย มีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์มายาวนานกว่า 28 ปี ในการวางระบบสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโปรเจคนี้ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม