PTTEP เตรียม 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ลงทุนจัดเก็บคาร์บอนแหล่งขุดปิโตรเลียม

ผู้ชมทั้งหมด 621 

PTTEP เตรียม 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ลงทุน CCS จัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในหลุมผลิตปิโตรเลียม เริ่มนำร่องแหล่งอาทิตย์ เฟสแรก 4-5 หลุม พร้อมร่วมกับพันธมิตรญี่ปุ่นขยายลงทุนในโครงการสินภูฮ่อม เร่งภาครัฐผลักดันแก้กฎหมายปิโตรเลียมหนุนดำเนินการในแหล่งนอกสัมปทาน

นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้วางเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 (Net Zero Greenhouse Gas Emissions by 2050) จึงได้ลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีการจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage หรือ CCS) โดยได้เริ่มนำร่องใช้กับแปลงสัมปทานปิโตรเลียม แหล่งอาทิตย์ โดยการใช้แท่นผลิตก๊าซเก่ามาเป็นหลุ่มเพื่ออัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ลงไปเก็บไว้ในหลุม โดยตั้งเป้าระยะแรกจะดำเนินการให้ได้ 4-5 หลุม อย่างไรก็ตามในแหล่งอาทิตย์นั้นคาดว่าจะสามารถกักเก็บ CO2 ได้ 1 ล้านตันต่อปี  

ทั้งนี้การดำเนินโครงการ CCS นั้นก็มองโอกาสที่จะขยายการลงทุนในแหล่งขุดเจาะผลิตก๊าซธรรมชาติของบริษัทฯ ทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทย โดยภายใน 5 ปี (2565-2569) เตรียมเงินลงทุนไว้ราว 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการดำเนินโครงการ CCS

สำหรับโครงการต่อไปที่ ปตท.สผ. มีแผนจะเข้าไปลงทุน CCS คือ โครงการสินภูฮ่อม จ.อุดรธานี โดยปัจจุบันปตท.สผ.ได้ลงนามความร่วมมือ MOU กับบริษัท อินเป็กซ์ คอร์ปอเรชั่น และเจจีซี โฮลดิ้งส์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นพันธมิตรจากประเทศญี่ปุ่น ศึกษาความเป็นไปได้ในของโครงการ CCS ที่โครงการสินภูฮ่อมแล้ว ซึ่งพันธมิตรญี่ปุ่นให้ความสนใจจะมาร่วมลงทุนเพื่อนำ CO2 จากแหล่งอื่นๆ จากโรงผลิตไฟฟ้า โรงแยกกระดาษมา เปลี่ยนเป็นของเหลวนำไปกักเก็บในชั้นหลุมที่ปตท.สผ. ขุดเจาะไว้

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญของโครงการ CCS คือ การแก้กฎระเบียบ กฎหมายปิโตรเลียม เพื่อดำเนินการในแหล่งอื่นนอกสัมปทาน ซึ่งรัฐบาลจะต้องดูว่ากฎหมายจะเอื้ออย่างไร เพื่อให้ ปตท.สผ. สามารถใช้พื้นที่ในแหล่งปิโตรเลียมของผู้สัมปทานรายอื่นได้ อื่นเพื่อกับเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งแหล่งขุดเจาะปิโตรเลียมในอ่าวไทยจากการประเมินเบื้อต้นคาดว่าจะสามารถกับเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 40 ล้านตัน ในปี ค.ศ. 2040

สำหรับการแก้ไขกฎระเบียบ กฎหมายปิโตรเลียม เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ในแหล่งอื่นนอกสัมปทานได้นั้น ปตท.สผ. ก็ได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐบ้างแล้ว โดยได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องการกับเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะมีการประชุมเร็วๆ นี้ เพื่อผลักดันแผนดำเนินการของรัฐบาลที่จะนำไปสู่เป้าหมาย Carbon neutrality ภายในปี 2050 และ Net Zero Emission ภายในปี 2065 ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าไม่มีเทคโนโลยีการจัดเก็บคาร์บอนไดออกไซด์