กลุ่ม ปตท. หนุน GML ปั่นธุรกิจโลจิสติกส์ สู่เป้าหมาย 5 ปี รายได้ทะลุ 6,000 ลบ.

ผู้ชมทั้งหมด 1,609 

ปตท. พร้อมดัน บริษัทย่อย “GML” รุกธุรกิจโลจิสติกส์ นำร่องขนส่งสินค้าผ่านระบบราง ตั้งเป้าโกยรายได้ปี 2567 ไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท หวัง 5 ปี ทะลุ 6,000 ล้านบาท กระตุ้น “รัฐ” เร่งขจัดอุปรรคขยายช่องทางการขนส่งทางอากาศผ่าน “สนามบินสุวรรณภูมิ” ดันไทยเป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเชื่อมโยงระบบร่างและอากาศ

ย้อนไปกว่า 1 ปี ที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของไทยในสมัยนั้น (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) มีนโยบายให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ เข้าไปช่วยปรับปรุงและเชื่อมโยงระบบโลจิกติกส์ของประเทศให้เกิดความต่อเนื่องในทุกระบบ หรือ Multimodal Logistics เพื่อนำไปสู้เป้าหมายลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ จากปัจจุบัน ไทยมีต้นทุนโลจิสติกส์ ขนส่งต่อหน่วยเทียบกับ GDP อยู่ที่ 13-14% คิดเป็นมูลค่า 2.4 ล้านล้านบาท และพึ่งพาการขนส่งทางถนนกว่า 85% ฉะนั้น หากลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงได้ 1% ก็จะลดต้องทุนได้ 2.4 แสนล้านบาท

ด้วยนโยบายดังกล่าว คณะกรรมการบริษัท สยาม แมนเนจเมนท์ โฮลดิ้ง จำกัด (“SMH”) (บริษัทย่อยซึ่ง ปตท. ถือหุ้นทั้งหมด) ในการประชุมครั้งที่ 7/2565 วันที่ 10 สิงหาคม 2565 จึงมีมติอนุมัติให้จัดตั้ง บริษัท โกลบอล มัลติโมดัล โลจิสติกส์ จำกัด (“GML”) โดย SMH ถือหุ้น 100% ด้วยทุนจดทะเบียน 230 ล้านบาท

โดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ โดยมุ่งเน้นการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายขนส่งทั้งหมดของประเทศไทย รวมถึงระบบขนส่งเชื่อมต่อระหว่างประเทศ โดยมีบริการหลัก อาทิ การขนส่งสินค้าทางราง ทางทะเล ทางบกและทางอากาศการบริหารจัดการคลังสินค้าห้องเย็น รวมถึงการบริหารและให้เช่าทรัพย์สินสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโลจิสติกส์

ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ให้กับผู้ประกอบการ โดยการจัดตั้งบริษัทของ ปตท. ดังกล่าวสอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และกลยุทธ์ New S-Curve ของ ปตท. ในกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน โดยได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทดังกล่าวแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ซึ่งบริษัทนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ ของ กลุ่ม ปตท.

นายชาญศักดิ์ ชื่นชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการบริษัท Global Multimodal Logistics หรือ GML เล่าว่า โจทย์สำคัญในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ ปตท.มองโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ 3 โครงการ คือ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, สนามบินอู่ตะเภา และส่วนขยายท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ซึ่ง ปตท.ได้ร่วมเข้าประมูลและได้สิทธิดำเนินโครงการเฉพาะท่าเรือแหลมฉบัง ส่วนทางรางและทางอากาศไม่ประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการศึกษาในภาพรวม พบว่า ที่ผ่านมา ประเทศไทย มีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไปมากที่สุด คือ ระบบราง แต่ยังใช้ประโยชน์น้อยมาก ฉะนั้น หนทางหนึ่งที่จะทำให้ประเทศไทยเป็น ศูนย์กลางด้านการขนส่งระหว่างประเทศ (Logistic hub) และจากข้อมูลการศึกษาทั้งจากยุโรปและสหรัฐ ต่างใช้ระบบ Multimodal Logistic

“ปตท. ตั้งธงจุดที่เราจะเข้าลงทุน คือ โลจิสติกส์เพื่อรองรับการขนส่งระหว่างประเทศเพื่อให้ไทยใช้ศักยภาพโลจิสติกส์ที่ลงทุนไปแล้วสร้างรายได้กลีบเข้ามา จึงตั้ง GML ขึ้น และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เข้าไปประเทศแรก คือ จีน เพราะจีนมีโครงการ Belt and Road Initiative (BRI) หรือ โครงการจีนเชื่อมโลก ซึ่งมีเส้นทางหนึ่ง จะมีรถไฟวิ่ง ผ่าน ไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์ แต่ยังติดปัญหาการเชื่อมต่อที่ไทย”

GML จึงเริ่มองหาโอกาสเข้าไปลงทุนโลจิสติกส์ในจีนผ่านความร่วมมือกับพันธมิตร คือบริษัท แพน-เอเชีย ซิลด์ โรด จำกัด (PAS) บุกเบิกเส้นทางการค้าขยายตลาดสู่จีน โดยผ่านเส้นทางรถไฟลาว-จีน“ เริ่มจาก “ฉงชิ่ง” เป็นเมืองแรกที่ไปทำ MOU กับ ฉงชิ่งโลจิสติกส์ (ยูฉิงโหว) ซึ่งมี 5 หุ้นส่วนใหญ่ คือ รัฐบาลจีน-การรถไฟประจำเมืองฉงชิ่ง-การรถไฟรัสเซีย-การรถไฟคาซัคสถาน-การรถไฟเยอรมัน เชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟที่มีระยะทาง 10,000 กม. สามารถเชื่อมต่อกันไปสู่ยุโรป โดยจากเริ่มทดลองส่งสินค้าผ่านเส้นทางรถไฟในเดือนธ.ค.ปี 2566

จากนั้น เริ่มขนส่งสินค้าไป “กว่างโจว”,“เจิ้งโจว”, “คุนหมิง” และ“เฉิงตู” รวม 5 เมือง มีประชากรรวมกว่า 1,000 ล้านคน คิดเป็นส่วนราว 3ใน4 ของประชากรจีน และปัจจุบัน ยังมีอีกหลายเมืองที่ทยอยทำ MOU ร่วมกัน

โดยหัวใจสำคัญที่จะทำให้การค้าไทย-จีน ประสบความสำเร็จ อยู่ที่ความร่วมมือ 3 ระดับ คือ รัฐบาล-รัฐบาล, รัฐวิสาหกิจ-รัฐวิสาหกิจ และเอกชน-เอกชน ซึ่ง ปตท.มีความพร้อมเพราะ เป็นทั้งรัฐวิสาหกิจที่มีรูปแบบการดำเนินงานแบบเอกชน ทำให้ผู้ประกอบการเชื่อมั่น และจุดที่เข้าไปทำธุรกิจถือว่า ยังไม่มีคู่แข่ง อีกทั้งการใช้ระบบรางในการขนส่งสินค้า ช่วยให้เกิดการประหยัด 20% เมื่อเทียบกับขนส่งทางถนน และที่สำคัญตรงต่อเวลา

อีกทั้ง GML ยังร่วมกับ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขยายตลาดส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านระบบการขนส่งทางราง มุ่งสร้างเครือข่ายด้านโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถเข้าสู่ตลาดการค้าต่างประเทศ

“ปี2566 เราทดลองส่งสินค้าเกษตร เช่น ทุเรียน,ยาง,ข้าว และเม็ดพลาสติก ไปแล้วกว่า 400 ตู้ มีมาร์จิ้นหลายร้อยล้านบาท ปี 2567 มีเป้าหมายจะเพิ่มการขนส่งสินค้าปศุสัตว์ แต่ยังติดปัญหาทางจีน ไม่มีเครื่องมือตรวจสินค้าประเภทกุ้ง และไก่ ซึ่งต้องเจรจากับจีนให้เตรียมพร้อมในเรื่องนี้ก่อน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขนส่งสินค้า 5,000 ตู้ สร้างรายจากการขนส่งได้ราว 1,500 ล้านบาท ขณะที่ตามแผน 5 ปี เต้าเป้าให้ GML มีรายได้จากการขนส่งสินค้า ราว 5,000 -6,000 ล้านบาท เฉพาะขนส่งทางราง แต่หากในอนาคตมีการขนส่งทางอากาศเข้ามาเพิ่ม คาดว่ารายได้จะโตขึ้นเท่าตัว โดยสัดส่วนรายได้จากการขนส่งทางราง จะอยู่ที่ 40% และขนส่งทางอากาศ จะอยู่ 60% บนพื้นฐานที่รัฐต้องขจัดอุปสรรคเปิดประตูสู่การขนส่งสินค้าทางอากาศให้แล้วเสร็จก่อน”

ปี 2567 เป้าหมายการส่งออกสินค้าทางราง 5,000 ตู้ เป็นการประเมินจากศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานสูงสุดที่ประเทศไทยรับได้ ซึ่งถ้าภายใน 1-2 ปีนี้ รัฐบาลสามารถขจัดอุปสรรคที่ติดขัดทั้งระบบศุลกากร และสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่ใช้ร่วมกับรถบรรทุกได้ เช่น เปิดด่าน 24 ชั่วโมง หรือ แบ่งเวลาวิ่ง เช่น รถบรรทุกวิ่งกลางวัน ส่วนรถไฟวิ่งเช้า และเย็น รวมถึงต้องเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนต่างๆให้เพียงพอ ก็จะทำให้การขนส่งสินค้าดำเนินการได้สะดวกมากขึ้น

นายชาญศักดิ์ มองว่า การขนส่งสินค้าทางอากาศ ยังเป็นช่องทางสำคัญของประเทศไทยที่จะขยายเส้นทางการค้า เชื่อมโยงขนส่งสินค้าผ่านระบบสายการบินกับระบบราง เพื่อส่งเสริมการเป็น Logistic hub และไทยมีข้อได้เปรียบจากพื้นที่ตั้งของสนามบินสุวรรณภูมิ ที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าได้ไม่ยาก แต่ยังมีอุปสรรค เช่น เรื่องของ พื้นที่เขตประกอบการค้าเสรี (Free trade Zone)  ที่จากการศึกษาเห็นว่า ยังมีหลายส่วนงานที่ต้องปรับแก้ เช่น เรื่องของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับพิธีสารผ่านแดนน หรือ พิธีศุลกากร ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงต่างๆ เพื่อเอื้อให้สายการบินต่างๆ เข้ามาใช้สนามบินของไทยเป็นฐานการขนส่งสินค้าสู่ประเทศอื่น

ทั้งนี้ ปัจจุบัน GML ได้หารือและทำความร่วมมือกับ บริษัทการบินไทย และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) และพันธมิตร เพื่อร่วมมือกัน ยกระดับ ‘แวร์เฮาส์’ การบินไทย ให้เป็นระบบออโตเมชั่น 100% ซึ่งหลังจากได้ข้อสรุปแนวทางการร่วมลงทุนซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบใด และต้องวางงบประมาณลงทุนเท่าใดก็จะเสนอ บอร์ด ปตท.พิจารณาต่อไป

“ระบบขนส่งจะมีเวลาตั้งฐานในการขนส่ง หลังโควิด-19 หายไป ระบบขนส่งทุกประเทศมีการทบทวนเส้นทางใหม่ และยิ่งมีปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ เข้าใจว่า ปีนี้ จำเป็นต้องรีบทบทวน เมืองต่างๆที่เคยบิน อาจจะเปลี่ยนไป ถ้าเขามองไทยเป็นฐานก็อาจจะอยู่นาน แต่ถ้าเมือ่ไหร่ย้ายฐานออกไปแล้ว การจะย้ายกลับอีกครั้งมันจะยาก ฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ ก็อยากให้รัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งทำให้ให้ไทย เป็น Hub ทางการบินให้เร็วที่สุด